วิธีการแก้ปัญหาการตัดราคา
ปัญหาที่คนส่วนใหญ่มักพบเจอ คือ การขายตัดราคา จากคู่แข่งหรือจากรายใหญ่ เราควรจะแก้เกมหรือหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจการไปต่อได้ โดยที่ใช้กลยุทธ์ในด้านอื่นๆเข้ามาปรับใช้แทน
- ด้านคุณภาพ ราคาถูก ไม่ได้แปลว่าดี ราคาดีไม่ได้แปลว่ามีคุณภาพเสมอไป กิจการจะดำเนินการไปได้ในระยะยาวมันขึ้นอยู่ภาพของสินค้าที่เราจำหน่ายด้วยส่วนหนึ่ง หากใช้ของดี ที่มีคุณภาพปัญหาและผลกระทบที่พบเจอมักจะน้อยกว่าอยู่แล้ว หากเราเชื่อมั่นในตัวสินค้าของเราว่าดีจริงและมีคุณภาพจริงๆ เชื่อว่าลูกค้าก็จะสัมผัสได้ถึงความคุ้มค่าและเห็นถึงความสำคัญของสินค้านั้นๆ อย่างที่ว่ารู้อะไร ไม่เท่ารู้งี้
- ด้านการบริการ ก็เป็นสิ่งสำคัญมากๆไม่ว่าจะเป็นในงานขายหรืองานด้านอื่นๆ นอกจากสินค้าจะซื้อลูกค้าได้แล้ว การบริการก็สามารถที่จะซื้อใจลูกค้าได้เช่นกัน ไม่ว่าสินค้าจะราคาถูกหรือราคาแพง ถ้าหากว่าได้รับการบริการที่ไม่ดีก็จะทำให้เสียโอกาสที่จะได้รับจากทางลูกค้า หรือลูกค้าอาจจะไม่มาใช้บริการซ้ำ เพราะเกิดความไม่สบายใจในการที่จะสั่งซื้อหรือเกิดความเสียความรู้สึกได้ แต่ในทางกลับกันหากเราบริการลูกค้าดีให้คำปรึกษาหรือแนะนำ แต่เนื่องด้วยลูกค้าติดในเรื่องราคาหรือเรื่องอะไรก็ตามที่ไม่ได้มาใช้บริการด้วย แต่เชื่อว่าวันหนึ่งที่ลูกค้าไปเจอที่ใหม่ที่มีการบริการที่ไม่ดี ลูกค้าก็จะนึกถึงที่เราเป็นที่แรก และก็จะมีความรู้สึกที่อยากจะกลับมาใช้บริการด้วยแน่นอน เพราะ เราสามารถที่จะให้อิสระในการตัดสินและความสบายใจกับทางลูกค้าได้
- การเปลี่ยนเป้าหมายในกลุ่มลูกค้าเดิม ใน100 คน ในกลุ่มลูกค้าเดิม ต้องมีสักคนที่มองเห็นต่างในเรื่องของการขายตัดราคาและเข้าใจการกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งไม่ใช่ลูกค้าทุกรายที่จะเห็นเรื่องราคาเป็นหลัก อาจจะเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่เมื่อรวมๆกันก็สามารถที่จะสร้างยอดขายได้เช่นกัน
- มองหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ นอกจากกลุ่มลูกค้าเดิมๆที่เรามีอยู่แล้ว เราต้องเพิ่มโอกาสและมองหากลุ่มลูกค้าใหม่ที่ โดยการออกจากที่เดิมสลับกับการไปเจาะกลุ่มตลาดใหม่เพื่อที่จะได้ขยายตลาด
- เปลี่ยนเทคนิคการขายแบบใหม่ เปิดโอกาสให้กับธุรกิจได้ลองไอเดียใหม่ๆ เพื่อที่จะได้ทราบความต้องการของลูกค้าว่าแบบไหนดี แบบไหนจะตอบโจทย์มากกว่ากัน หรืออีกหนึ่งเทคนิคคือการขายแบบสร้างประสบการณ์ คือการขายแบบให้ลูกค้าได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ หรือกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยใช้บริการกับเรา อาจจะสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าโดยการให้ตัวเทสลูกค้าไปลองใช้ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึงสินค้าจริงๆ ถ้าสินค้าดีมีคุณภาพ โอกาสลูกค้าที่ด้รับตัวเทสกลับไปแล้วชอบต้องมีการกลับมาซื้อซ้ำหรือการบอกต่อแน่นอน แต่กลยุทธ์วิธีนี้ก็อาจะไม่เหมาะสมกับบางธุรกิจก็ต้องหาวิธีหรือกลยุทธ์ที่มันเข้าและเหมาะสมกับงานของตัวเอง ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่สามารถที่จะให้ตัวอย่างการเทสกับลูกค้าได้ ก็ลองเปลี่ยนมาเป็นการรีวิวแทน ซึ่งการรีวิวก็เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้า หากมีการพบเห็นซ้ำๆหรือเห็นบ่อยๆก็จะความสนใจที่จะลองสั่งหรือลองใช้สินค้าแน่นอน
1. เทคนิคการตั้งชื่อแบรนด์สินค้า
อยากขายดีเป็นที่จดจำ ชื่อแบรนด์ก็เป็นสิ่งสำคัญ ในการสร้างแบรนด์ การตั้งแต่ชื่อแบรนด์จริงแล้วไม่มีสูตรตายตัวว่า ต้องตั้งแบบนั้น ต้องตั้งแบบนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของแบรนด์และความเหมาสม แต่สิ่งที่สำคัญในการตั้งชื่อควรจะเป็นชื่อที่จำได้ง่าย มีเอกลักษณ์ หรือมีจุดเด่น จุดสนใจที่ได้ยินแล้วติดหู หรือ มีความแปลกที่ไม่เหมือนใคร คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ยาวเกินไปจนจำได้ยาก
อาทิเช่น
- ตั้งชื่อแบรนด์สินค้าจากสิ่งสำคัญ จากตัวย่อของชื่อตัวเอง หรือคนรัก คนในครอบครัว หรือสิ่งของ สถานที่ที่ชอบไปหรือมีเหตุการณ์สำคัญๆในสถานที่นั้น หรือวันนั้นๆ
- ตั้งชื่อแบรนด์จากความเชื่อ บางคนอาจจะมีความเชื่อว่าถ้าตั้งชื่อนี้แล้วจะทำให้แบรนด์ปัง แบรนด์ดังเป็นที่รู้จัก หรือ ที่รู้จักกันในวงการสายมู อาจจะมีการดูฤกษ์ดูยามจากการตั้งชื่อ หรือตัวอักษรที่ต้องมีอยู่ในชื่อแบรนด์
- ตั้งชื่อแบรนด์จากความหมาย บางคนอาจจะเจอคำศัพท์ที่ชอบ หรือ เป็นภาษาต่างประเทศที่มีชื่อไพเราะและความหมายดี ก็สามารถที่จะนำมาตั้งและประยุกต์ใช้ในชื่อแบรนด์ได้ หรือใช้เป็นตัวอักษรย่อแทน เป็นการครีเอทที่ไม่เหมือนใครใน
- สไตล์ของตัวเอง การตั้งชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงสินค้าหรือกิจการที่ทำ
เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่จะสามารถสื่อถึงตัวสินค้าได้โดยตรง คือการตั้งชื่อแบรนด์ให้มีความสอดคล้องกับ
โปรดักซ์ที่จำหน่ายหรือกิจการที่ทำ เหมือนเป็นการขายสินค้าในตัวไปด้วยและสร้างการจดจำที่ง่ายต่อผู้ที่พบเห็น เช่น ร้านชาบู ก็เอาคำว่าชาบูเข้ามาใส่ในชื่อแบรนด์
“การตั้งชื่อแบรนด์ไม่มีสูตรตายตัวในการตั้งก็จริง แต่ก็อย่าลืมคำนึงถึงความเหมาะสมในการตั้ง” ถ้าหากนำคำที่เป็นกระแสหรือคำที่ฮิตมาตั้ง ต้องคำนึกถึงในระยะยาวด้วยว่า คำนี้จะยังฮิตจะยังโดดเด่นอยู่หรือไม่ เพราะการคำแบรนด์มันจะเป็นที่จดจำและแสดงถึงเจ้าของของแบรนด์ได้ และต้องตรวจสอบความถูกต้องหรือเช็คข้อมูลหรือชื่อที่ใช้ด้วยก็จะดีมาก หากไปเจอคำที่ชอบที่สนใจมาแล้วเกิดอยากนำมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์ หากคำๆนั้นเป็นคำที่มีลิขสิทธิ์ก็อาจจะนำมาสู่ปัญหาในภายหลังได้
2. วิธีการออกแบบฉลากสินค้า
ฉลากสินค้า คือ สิ่งที่สำคัญสำหรับแบรนด์สินค้า เพราะฉลากคือสิ่งที่เป็นหน้าตาของแบรนด์และเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าพบเจอก่อนที่จะได้รับรู้ถึง คุณภาพของสินค้า หากออกแบบฉลากสินค้าให้สวย ให้ดูดีก็จะสามารถดึงดูดลูกค้าและยังเป็นการช่วยเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย หากแบบไม่สวยไม่โดนใจก็ไม่สามารุที่จะดึงดูดสายตาหรือเรียกความสนใจจากผู้ที่พบเห็นได้ อยากที่เขาว่ากันว่า “ออกแบบผิดชีวิตเปลี่ยน ขายยยังไงก็ไม่ปัง”
เพราะฉะนั้นหากใครที่จะเริ่มทำแบรนด์ให้คิดเสมอว่า แบบฉลากคือหน้าตาของแบรนด์ และจะอยู่ติดตัวและติดแบรนด์ไปในระยะยาว แบบดีสินค้ามีคุณภาพขายยังไงก็ปัง
สิ่งที่สำคัญที่ต้องมีสำหรับการออกแบบฉลากสินค้า คือ
- ชื่อแบรนด์ สิ่งสำคัญที่สุดที่อยู่บนฉลาก และโลโก้แบรนด์ เพราะจะเป็นที่ทำให้ลูกค้าจดจำและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์
- องค์ประกอบและข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้า ที่ต้องใส่ลงในฉลากต้องมีความถูกต้องและครบถ้วนตรงความหลักโภชนาการหรืออย.
- ตัวอักษรที่ใส่ลงในฉลากต้องเลือกฟอนต์ ที่สวย ดูดีและอ่านได้ง่าย เพราะก่อนที่จะซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆลูกค้าโดยส่วนใหญ่จะต้องอ่านข้อมูลรายละเอียดบนฉลากก่อนที่จะทำการซื้ออยุ่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฟ้อนต์ที่ใส่ลงในข้อมูล หรือฟ้อนต์ชื่อแบรนด์ ที่สำคัญต้องตรวจสอบเรื่องสิขสิทธิ์ในการใช้ฟ้อนต์ตัวหนังสือ
- รูปภาพประกอบที่เลือกใส่ลงบนฉลาก ควรจะเลือกภาพที่เหมาะสมหรือไปในทิศทางเดียวกันกับโปรดักซ์ หรือสินค้า เพื่อเป็นการสื่อถึงสินค้าที่ชัดเจนและสร้างภาพจำได้ง่ายต่อการพบเห็น
- เรื่องสีที่ใช้ ควรใช้ที่มีความเหมาะสมและสวยงาม ไม่ควรใช้โทนสีที่ทึบเกินไปหรือโทนสีที่แตกต่างกัน
เพราะอาจจะทำให้ภาพดูไม่น่าดึงดูด หรือ อาจจะทำให้ภาพดูเลอะ ทางที่ดีควรเลือกใช้สีที่ไปในทิศทางเดียวกันที่ไปโดดไปทางใดทางหนึ่งเพราะจะทำให้ฉลากดูไม่ไปในทิศทางเดียวกัน
3. วิธีการสร้างแบรนด์ตัวเองควรเริ่มต้นอย่างไร
- หาความต้องการของตัวเองให้เจอ ว่าตัวเองชอบสิ่งไหน ถนัดทำอะไรมากที่สุด หากเรารู้ความต้องการของตัวเองว่าชอบอะไร หรือ ถนัดอะไรก็จะสามารถนำมาต่อยอด ในการริเริ่มที่จะทำแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิและตรงตามความต้องการของตัวเอง แต่ก็จะมีบางกลุ่มที่มีความคิดริเริ่มที่อยากจะทำแบรนด์ของตัวเองจากความผิดหวังจาการใช้งานของสินค้านั้นๆ หรือ ต้องการปรับแก้ในส่วนที่ขาดและต้องการเพิ่มเติมจากสิ่งที่ตัวเองต้องการ อาทิเช่น บางกลุ่มอยากทำแบรนด์สกินแคร์ อยากทำแบรนด์เสื้อผ้า แบรนด์อาหาร หรือแบรนด์ของใช้ ฯลฯ ยกตัวอย่างง่ายๆที่สามารถมองเห็นภาพได้ชัด คือ การทำสกินแคร์ เพราะ ล่าสุดเหตุอาจจะเกิดจากเคยใช้ครีมบางตัวแล้วแพ้ ใช้แล้วดีแต่ยังดีไม่สุด หรือ ใช้แล้วเห็นผลเร็วบางเห็นผลช้า จึงทำให้ต้องเปลี่ยนสกิลแคร์ไปเรื่อยๆเนื่องจากยังไม่ตอบโจทย์ที่ตรงตามความต้องการของตัวเองและเห็นถึงปัญหา ซึ่งนั้นอาจจะนำมาสู่ความคิดที่จะริเริ่มในการเริ่มทำแบรนด์ได้
- มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตนเองจะทำมากแค่ไหน ในส่วนของการทำแบรนด์ความรู้และความชำนาญในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเองนั้นสำคัญมาก เนื่องจากเราเป็นเจ้าของแบรนด์ หากลูกค้าที่ซื้อไปเกิดพบเจอปัญหาทางเจ้าของแบรนด์ต้องเป็นผู้ให้ความรู้ข้อแนะนำกับทางลูกค้าได้ถูกต้องและครบถ้วน เพราะ ลูกค้าบางกลุ่มอาจจะไม่มีความรู้ในตัวของสินค้าเลย แต่มีความสนใจที่อยากจะทดลองใช้ นั่นแปลว่าลูกค้ามั่นใจ และไว้วางใจในแบรนด์ในระดับหนึ่ง จึงเป็นสาเหตุที่ความรู้เกี่ยวกับสินค้าและแบรนด์ของตัวเองจึงสำคัญมาก เพราะ มันจะเกี่ยวโยงกับทุกๆอย่างของแบรนด์ ทั้งด้านคุณภาพ การแก้ปัญหา จุดอ่อนและจุดแข็งของแบรนด์ หากวันหนึ่งแบรนด์ถูกทางคู่แข่งโจมตีมา เราก็จะมีข้อโต้แย้งและเกราะป้องกันให้กับแบรนด์ของตัวเอง แต่ถ้าหากเจ้าของแบรนด์เองมีความรู้และความชำนาญในแบรนด์ของตัวเองไม่มากพอ วันนั้นถ้าเกิดปัญหาเราจะไม่รู้เลยว่าสาเหตุมันเกิดมาจากจุดไหนและหนทางของการแก้ปัญหาก็อาจจะทำให้ยากขึ้น และยังเป็นจุดอ่อนที่ทำให้คู่แข่งทางการตลาดโจมตีได้
- ความมีวุฒิภาวะและความเป็นผู้นำในการทำแบรนด์ ความมีวุฒิภาวะในที่นี้ สื่อให้เห็นว่าก่อนจะมาเป็นแบรนด์ของตัวเอง มันผ่านองค์ประกอบๆในหลายๆอย่าง ทั้งการลองผิดการลองถูกเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ดีที่สุดในแบรนด์ของตัวเอง ในจุดนี้อาจจะเจอทั้งอุปสรรคและความราบรื่นปะปนกันไป ร่วมถึงการหาไอเดีย หรือการติดต่อประสานงานกับหลายๆที่เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดให้กับแบรนด์ หากในสิ่งที่ทำมันไม่เป็นอย่างที่หวังเราจะควบคุมสถานการณ์ตรงนี้ยังไงให้มันออกมาดีและจะแก้ปัญหาด้วยวิธีไหนเพื่อลดความเสี่ยงหน่อยที่สุด
- ความเป็นผู้นำในที่นี้ คือ การนำลูกค้าและนำความก้าวหน้ามาสู่แบรนด์ การที่จะมาเป็นแบรนด์ได้นั่นแปลว่า เราได้นำลูกค้ามาแล้ว 1ก้าว เพราะ แบรนด์แต่ละแบรนด์จะมีในสิ่งที่ตอบโจทย์ของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม ซึ่งในส่วนของการนำลูกค้าตรงนี้ทางแบรนด์จะมีวิธีในการที่จะทำให้ลูกค้าคล้อยตาม หรือ อยู่กับแบรนด์นานๆได้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่า คุณมีวิธีในการที่จะนำเสนอหรือ พรีเซนส์แบรนด์ให้แตกต่างกับแบรนด์ๆอย่างไรให้ลูกค้าเข้าใจและเข้าถึงได้มากขึ้น หากคุณรู้วิธีในการนำตรงนี้ก็จะพาเข้ามาสู่การนำความก้าวหน้ามาสู่แบรนด์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาและการเติบโตของ แบรนด์ ซึ่งอาจจะมีการเปิดรับตัวแทนหรือมีสินค้าใหม่ๆมากขึ้นภายในแบรนด์
- งบประมาณในการทำแบรนด์ สิ่งสำคัญในการทำแบรนด์อีก 1 สิ่งที่ต้องมีและสำคัญมากๆ คือ งบประมาณในการลงทุนทำแบรนด์ หากมีงบประมาณไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาในการทำแบรนด์ เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในระหว่างที่ดำเนินการ หรือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามมา เพราะในช่วงระยะแรกของการทำแบรนด์อาจจะต้องใช้ทุนจำนวนหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเตรียมตัวมาดีแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถที่จะคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าได้ ว่าจะติดปัญหาตรงไหนบ้างที่จะต้องปรับแก้ จึงจำเป็นที่ต้องมีทุนหลักและทุนสำรองเผื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน
ออกแบบ และผลิต ฉลากแบรนด์สินค้าเกรด Premium🎉🎉🎉 ไว้วางใจ “ออลแพค” ทำงานอย่างมืออาชีพ พร้อมบริการประทับใจ
ออลแพคออกแบบ และผลิตฉลากโดยผู้เชี่ยวชาญกว่า 15 ปี💫
⭐️ให้คำปรึกษา
💥ออกแบบฟรี
🌟ผลิตชิ้นงาน
🔥ส่งตรงเวลา
✨มีโปรโมชั่นหลังการขาย
ช่องทางการติดต่อ
📱Link line : https://line.me/ti/p/ax0DNpwFLk (ดาว)
📞Tel : 084-996-4424, 062-442-4954
🌐Website : https://allpackmakelink.com/